ธรรมชาติของมนุษย์เงินเดือนจะมี 2 อย่าง
1) เมื่อเงินเดือนออก จะหักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็มกระบอก รอนายจ้างสมทบ และได้ผลประโยชน์ทางภาษีด้วย
2) เมื่อมีหนังสือแจ้งให้เปลี่ยนสัดส่วนการลงทุน มักจะไม่เปลี่ยน เลือกสัดส่วนเดิม
พฤติกรรมแบบนี้จะมีความคล้ายกับคนที่กลัวหรือไม่ชอบความเสี่ยงหรือเรียกว่า Risk Averse เพราะคิดว่าหากไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่น อาจเสียเงินต้นได้ หรืออาจเป็นพวกไม่ค่อยสนใจการลงทุนเท่าไหร บริษัทจัดอะไรให้ก็เอาตามนั้น (แต่อย่าลืมนะว่าเศรษฐกิจแบบนี้ บางบริษัทเริ่มไม่มีเงินสมทบเเล้ว)
สำหรับประเด็น PVD ผมขอให้มุมมองด้านการบริหารความเสี่ยงดังนี้นะครับ (เพราะคิดว่าเรื่องการเงินส่วนบุคคล หรือ Personal Finance มีเพจหรือมีหนังสือดีๆ ในท้องตลาดเยอะมาก)
หากเราตัดเรื่องสถานการณ์ COVID-19 ไป พบว่าทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ประสบกับสถานการณ์ที่เรียกว่า Longevity risk หรือความเสี่ยงของการมีอายุยืนยาว ดัชนี้ชี้วัดอย่างหนึ่งคือ อายุเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้น สถิติตามการคาดการณ์ปี 2565 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทยจะขยับสัดส่วนเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ นั่นหมายถึงประชากร 1 ใน 5 คือผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และสหประชาชาติกำหนดสังคมที่มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป ถือเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” (อ้างอิง https://www.thairath.co.th/news/local/2277535)
คำถามคือ เมื่อคนมีอายุยืนยาวขึ้นเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ PVD จะพอจ่ายหรือไม่ 1) หากคนอายุเฉลี่ยสูงขึ้น 2) หรือหากกองทุนเหล่านั้นมีนโยบายการลงทุนที่ผลตอบแทนต่ำและไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ ก็น่ากลัวอีกแบบ
ทั้งนี้สำหรับ PVD ยังไม่น่ากลัวเท่า กองทุนเกษียณ พวกบำนาญที่จะต้องจ่ายทุกเดือนจนถึงวันสิ้นลม เรื่อง Longevity risk จะกระทบอย่างมาก และมีสัญญาณที่ไม่ดีจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ-FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่ง clip tiktok นี้ของ moneybuffalo ให้ความรู้ไว้ ดีมากๆ https://www.tiktok.com/@mone.../video/7081218517441203483...
ทางแก้สำหรับผู้ที่สะสมเงินใน PVD
• หากท่านอายุน้อย (<=35 ตัวเลขนี้กะเอาว่าเหลือเวลาลงทุนอีก 25 ปี) คงยังไม่น่าหนักใจ เพราะเมื่อลงทุนยาวๆ ยังไง ระยะเวลาการถือครองน่าจะช่วยได้) นอกจากท่านเปลี่ยนงานบ่อยครับ
• หากเริ่ม senior ขึ้น ประโยชน์ทางหนึ่งของ PVD คือเรื่องการลดหย่อนภาษี หาก cover แล้ว อาจจะเอาเงินไปลงทุนทางอื่นบ้าง หรือ เมื่อมีถึงช่วงเวลาปรับ Port PVD อาจจะต้องใส่ใจนึดนึงครับ
เมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund-PVD) อาจไม่ใช่ safe zone อีกต่อไป

29 เม.ย. 2565