• Home
  • Our Service
    • การบริหารความเสี่ยงองค์กร
    • ด้านความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
      • สถานการณ์ความเสี่ยงสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
      • บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
    • บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
    • การรับรองสมรรถนะด้านการประเมินความเสี่ยง
  • Our Experience
    • Our Clients
  • Blog
  • Articles
  • Contact Us

เมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund-PVD) อาจไม่ใช่ safe zone อีกต่อไป

Post Title
29 เม.ย. 2565
ธรรมชาติของมนุษย์เงินเดือนจะมี 2 อย่าง
1) เมื่อเงินเดือนออก จะหักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็มกระบอก รอนายจ้างสมทบ และได้ผลประโยชน์ทางภาษีด้วย
2) เมื่อมีหนังสือแจ้งให้เปลี่ยนสัดส่วนการลงทุน มักจะไม่เปลี่ยน เลือกสัดส่วนเดิม

พฤติกรรมแบบนี้จะมีความคล้ายกับคนที่กลัวหรือไม่ชอบความเสี่ยงหรือเรียกว่า Risk Averse เพราะคิดว่าหากไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่น อาจเสียเงินต้นได้ หรืออาจเป็นพวกไม่ค่อยสนใจการลงทุนเท่าไหร บริษัทจัดอะไรให้ก็เอาตามนั้น (แต่อย่าลืมนะว่าเศรษฐกิจแบบนี้ บางบริษัทเริ่มไม่มีเงินสมทบเเล้ว)
สำหรับประเด็น PVD ผมขอให้มุมมองด้านการบริหารความเสี่ยงดังนี้นะครับ (เพราะคิดว่าเรื่องการเงินส่วนบุคคล หรือ Personal Finance มีเพจหรือมีหนังสือดีๆ ในท้องตลาดเยอะมาก)

หากเราตัดเรื่องสถานการณ์ COVID-19 ไป พบว่าทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ประสบกับสถานการณ์ที่เรียกว่า Longevity risk หรือความเสี่ยงของการมีอายุยืนยาว ดัชนี้ชี้วัดอย่างหนึ่งคือ อายุเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้น สถิติตามการคาดการณ์ปี 2565 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทยจะขยับสัดส่วนเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ นั่นหมายถึงประชากร 1 ใน 5 คือผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และสหประชาชาติกำหนดสังคมที่มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป ถือเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” (อ้างอิง https://www.thairath.co.th/news/local/2277535)

คำถามคือ เมื่อคนมีอายุยืนยาวขึ้นเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ PVD จะพอจ่ายหรือไม่ 1) หากคนอายุเฉลี่ยสูงขึ้น 2) หรือหากกองทุนเหล่านั้นมีนโยบายการลงทุนที่ผลตอบแทนต่ำและไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ ก็น่ากลัวอีกแบบ
ทั้งนี้สำหรับ PVD ยังไม่น่ากลัวเท่า กองทุนเกษียณ พวกบำนาญที่จะต้องจ่ายทุกเดือนจนถึงวันสิ้นลม เรื่อง Longevity risk จะกระทบอย่างมาก และมีสัญญาณที่ไม่ดีจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ-FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่ง clip tiktok นี้ของ moneybuffalo ให้ความรู้ไว้ ดีมากๆ https://www.tiktok.com/@mone.../video/7081218517441203483...

ทางแก้สำหรับผู้ที่สะสมเงินใน PVD
• หากท่านอายุน้อย (<=35 ตัวเลขนี้กะเอาว่าเหลือเวลาลงทุนอีก 25 ปี) คงยังไม่น่าหนักใจ เพราะเมื่อลงทุนยาวๆ ยังไง ระยะเวลาการถือครองน่าจะช่วยได้) นอกจากท่านเปลี่ยนงานบ่อยครับ
• หากเริ่ม senior ขึ้น ประโยชน์ทางหนึ่งของ PVD คือเรื่องการลดหย่อนภาษี หาก cover แล้ว อาจจะเอาเงินไปลงทุนทางอื่นบ้าง หรือ เมื่อมีถึงช่วงเวลาปรับ Port PVD อาจจะต้องใส่ใจนึดนึงครับ

Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

Address

Condo The Trust Residence Ratchada Rama III
20/896 F17 Nonsee Road, Chong Nonsi, Yannawa, Bangkok 10120

   Add Line

Contact us

   Tel : 087-711-9446
   Line ID : patipanlim7
   Facebook : Risk and Opportunity

   
Email : patipanlim7@gmail.com

Our Courses

   Enterprise Risk Management
   Climate Change Risk
   Business Continuity Management System

Copyright © 2018 Patipanerm.com All Rights Reserved Powered by WebsMy