• Home
  • Our Service
    • การบริหารความเสี่ยงองค์กร
    • ด้านความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
      • สถานการณ์ความเสี่ยงสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
      • บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
    • บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
    • การรับรองสมรรถนะด้านการประเมินความเสี่ยง
  • Our Experience
    • Our Clients
  • Blog
  • Articles
  • Contact Us

รวบรวมแหล่งข้อมูลด้าน Climate Risk

Post Title
21 ก.พ. 2568
แม้ผลวิเคราะห์ Climate Risk Index 2025 ของไทยจะดูดีขึ้น ซึ่งก็เป็นข่าวดีนะครับ แต่ในภาคอุตสาหกรรม/บริษัท ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยผลคะแนนความยั่งยืนสากลหรือ FTSE-Russell ของบริษัทกลุ่มตัวอย่าง สรุปได้ว่ามุมมองด้าน E (สิ่งแวดล้อม) S (สังคม) และ    G(ธรรมาภิบาล) บริษัทกลุ่มตัวอย่างมีข้อมูลเปิดเผยมากและได้คะแนนดีในด้าน "G" ส่วนตัวคิดว่าเพราะบริษัทจดทะเบียนผ่านการทำ CG Report มาเป็นเวลานานแล้ว

ส่วนด้าน E, S ได้คะแนนกันน้อยกว่า ซึ่งเเยกย่อยลงไปในแต่ละ Theme โดยมุมมองด้าน E (สิ่งแวดล้อม) เป็นไปตามคาดว่า ประเทศไทยมีข้อมูลเปิดเผยน้อยหรือทำคะแนนได้ไม่ค่อยดีในด้าน สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนเเปลงหรือ "Climate Change" 
หากอยากดูรายละเอียด กดตรงนี้


แล้ว Climate Risk คืออะไร

สรุปแบบเข้าใจง่าย คือ Climate Change คือการที่สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านสภาพอากาศหรือ Climate Risk ต่อองค์กร/ประเทศซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ 

1) ความเสี่ยงด้านกายภาพ (Physical Risk) ความเสี่ยงด้านกายภาพจับต้องได้มาก เพราะมีให้เห็นในปัจจุบันพูดง่าย ๆ ก็คือ ความเสี่ยงด้านนี้เป็นความเสียหายเชิงกายภาพจาก Climate Change ซึ่งแบ่งออกเป็น 1.1 ความเสียหายแบบฉับพลัน (Acute Physical Risk) เช่น น้ำท่วมใหญ่ ไฟไหม้ป่า 1.2 ความเสียหายแบบค่อยเป็นค่อยไป (Chronic Physical Risk) เช่น ภูเขาน้ำแข็งละลายทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อุณหภูมิค่อย ๆ สูงขึ้น 

2) ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risk) คือความเสียหายที่เกิดจากการปรับตัวไปไม่ทันเมื่อบริษัทหรือประเทศอื่นปรับตัวกันไปได้แล้ว เช่น การประกาศใช้ พรบ. Climate Change 
ซึ่งคงเริ่มใช้ปี 2569 ใน พรบ. จะมีการกำหนดต้นทุนคาร์บอน (ซึ่งเห็นในข่าวว่าต้้นทุนในรูปแบบภาษี ประมาณ 200 บาท/ton of emission) หากเราเป็นบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้าได้ใช้พลังงานทางเลือกต้นทุนตรงนี้ก็จะต่ำกว่า บริษัทที่ยังใช้พลังงานฟอสซิล อันนี้คือ ตัวอย่าง Transition Risk ครับ

ผมสรุปเรื่องนี้ไว้ในคลิป Climate Change 101

Climate Risk ต้องจัดการอย่างไร 
วิธีการจัดการความเสี่ยง เหมือนแนวทางการจัดการความเสี่ยงในแบบปกติหรือไม่ (ลด ถ่ายโอน หลีกเลี่ยง ยอมรับ) จริงแล้วก็เชื่อมโยงแบบนั้นได้ แต่สากลได้แบ่งแนวทางการจัดการ Climate Risk ไว้ 2 หลักการใหญ่ คือ

1. Climate Adaptation (การปรับตัวสภาพภูมิอากาศ) 
แนวคิดการปรับตัวด้านสภาพภูมิอากาศคือ พิจารณาว่า Climate Risk โดยเฉพาะความเสี่ยงประเภทกายภาพได้เกิดขึ้นแล้ว ทำได้ดีคือการปรับตัว ลดผลกระทบ ลดความเปราะบาง เช่น หากรู้ว่าโรงงานของเรามีโอกาสน้ำท่วมสูง ก็สร้างฝ้ายกั้นน้ำ หรือยกพื้นโรงงานขึ้นสูง นี่คือแนวทาง Climate Adaptation จริงแล้วถ้าในระดับองค์กร ก็อาจหมายรวมไปถึงพวกแผน Business Continuity Plan (BCP) 

แนวคิด Climate Adaptation มีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ บริษัทไม่สามารถทำอะไรได้เยอะหากประเทศไม่จริงจังกับด้านนี้ เพราะการลงทุนในการลดผลกระทบเพียงลำพังบริษัทเดียวคงไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากเม็ดเงินลงทุนปรับตัวค่อนข้างสูงจึงต้องอาศัยกำลังจากภาครัฐ ดังนั้นแหล่งอ้างอิงที่สำคัญในการทำ Climate Adaptation คือ THAILAND’S NATIONAL ADAPTATION PLAN (NAP)

ผมคิดว่าบทความเกี่ยวกับ Climate Adaptation นี้ก็น่าอ่านครับ --> การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2. Climate Mitigation (การบรรเทาสภาพภูมิอากาศ)
แนวคิดการบรรเทาสภาพภูมิอากาศดูเหมือนจะยั่งยืนกว่า คือการลงไปที่สาเหตุของการเกิด Climate Change นั่นคือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุมมองการบรรเทาสภาพภูมิอากาศจึงเป็นวิธีการลดความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risk) โดยตรง เพื่อให้มองเห็นภาพการทำ Climate Mitigation 

- ถ้าเป็นโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า การทำ Climate Mitigation เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ Renewable Energy 
- ธนาคาร แม้ว่าไม่ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกตรง (Scope 1,2 น้อย) แต่สถาบันการเงินจะรับผิดชอบเยอะหน่อยใน Scope 3 คือลูกค้าของธนาคาร  ดังนั้นการทำ Climate Mitigation ที่สำคัญของธนาคารคือการให้ Incentive ในการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำกับธุรกิจใส่ใจสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

การทำ Climate Mitigation ที่ดีต้องมีการทำควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ฉากทัศน์สภาพภูมิอากาศ (Climate Scenario Analysis) ซึ่งจากงานวิจัยของผมพบว่าประเทศไทย (กลุ่มธนาคาร) ยังทำกันน้อยมาก 

แหล่ง Climate Scenario ที่น่าสนใจ อันนี้เลยครับ
- TCFD 
- NGFS 

อยากเชี่ยวชาญด้าน Climate Risk ทำอย่างไร
ช่วงปีนี้ความรู้ด้านนี้หาได้ไม่ยากเเล้ว ซึ่งหากเทียบกับ 3 ปีที่เเล้วที่ผมเริ่มศึกษาเรื่องนี้ ตอนนั้นความรู้กระจัดกระจายมาก แต่ตอนนี้หลายบริษัทก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อยู่มากพอสมควร จากที่ผมได้เข้าไปเป็น SET ESG Expert Pool ปีนี้ พบกว่าความรู้ด้านนี้ลงสู่ภาคปฏิบัติอย่างจริงจังในหลายบริษัท ซึ่งทำได้เจ๋งมากเลยครับ 

แต่หากจริงจังก็ยังคงแนะนำ 2 Certificate 
1) สำหรับ Corporate  แนะนำ Sustainability and Climate Risk (SCR)-GARP ซึ่งผมมี cer นี้และสอบผ่านไปแล้ว ทรหดมากช่วงอ่านหนังสือ 2 ปีก่อน Review ไว้ตรงนี้ครับ --> click

2) สำหรับ Investor/Fund Manager แนะนำ Climate Risk, Valuation, and Investing Certificate
ของ CFA
ครับ  น่าสนใจสุด ๆครับ


รวบรวมทิศทางล่าสุดเกี่ยวกับ Climate Risk ในประเทศไทย

1. รวบรวมความรู้ Climate Change จาก SET 
2. ความคืบหน้าของ Thailand Taxonomy Phase 2  (Phase 1 เสร็จไปแล้ว)
3. Carbon Tax ของประเทศไทย
4. สัญญาณดีสู้โลกร้อน Climate Risk Index 2025 ไทยหลุดอันดับประเทศเสี่ยงสูง จาก 9 ไป 30

บทความนี้แค่นี้ก่อนนะครับ เดียวจะยาวเกินไปแต่คิดว่ามีประโยชน์นะครับ

อ. หน่ง 












Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

Address

Condo The Trust Residence Ratchada Rama III
20/896 F17 Nonsee Road, Chong Nonsi, Yannawa, Bangkok 10120

   Add Line

Contact us

   Tel : 087-711-9446
   Line ID : patipanlim7
   Facebook : Risk and Opportunity

   
Email : patipanlim7@gmail.com

Our Courses

   Enterprise Risk Management
   Climate Change Risk
   Business Continuity Management System

Copyright © 2018 Patipanerm.com All Rights Reserved Powered by WebsMy