• Home
  • Our Service
    • การบริหารความเสี่ยงองค์กร
    • ด้านความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
      • สถานการณ์ความเสี่ยงสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
      • บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
    • บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
    • การรับรองสมรรถนะด้านการประเมินความเสี่ยง
  • Our Experience
    • Our Clients
  • Blog
  • Articles
  • Contact Us

กรอบการดำเนินงานด้านการจัดการวิกฤต (Crisis Management Framework)

Post Title
9 พ.ค. 2563
กรอบการดำเนินการจัดการวิกฤต (Crisis Management Framework)-COVID-19 ช่วงนี้ผมคิดว่าควรทำตัวให้เป็นประโยชน์ จึงได้เอาความรู้ที่เคยได้มีโอกาสทำงานใน field นี้มาแชร์ให้ทุกคนได้อ่าน

เมื่อ2 วันก่อนผมได้รับสายจากพี่คนนึงที่ต้องเข้ามารับผิดชอบเรื่องการจัดวิกฤต ในช่วงการเกิด COVID นี้ คำถามของพี่เค้าคือ “COVID มันเพิ่งเกิดแล้วจะมีใครทำแผนหรือรู้ล่วงหน้าแบบนี่หรือ”

คำถามนี้ดีนะครับ ทำให้ผมฉุดคิดได้ว่ามันวัดได้หลายมุมเลยสำหรับคำถามนี้ ถามตอบแบบซื่อๆ ก็ต้องตอบว่า “COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ถ้าจะเอาแผนตรงๆเลยคงไม่มี แต่ถ้าองค์กรไหนมีการเตรียมการที่ดี เค้าอาจจะมีแผนที่เกือบเหมือนเช่น ตอนเกิดโรค SAR อะไรแบบนี่ เราก็จะพอมาประยุกต์กันได้

คำถามต่อมาคือ ?????????? เค้าถามต่อด้วยการถึงบางอ้อที่ว่า “แสดงว่าแผนการจัดการวิกฤต เราเตรียมล่วงหน้าได้นะสิ” ผมเลยตอบกลับไปแบบจริงใจ ไม่ได้กวนว่า ขึ้นชื่อว่าแผนต้องเตรียมก่อนได้แน่นอน

1. READINESS หรือบางคนเรียน Pre crisis phase ง่ายๆเลยครับก่อนเกิดเหตุบางคนอาจถามว่า ก่อนเกิดเหตุมีอะไรต้องทำด้วยหรา ผมขอแบ่งเป็น 2 ประเภทองค์กรครับ 1) ถ้ามีแผนอยู่แล้ว ก็ซ้อมแผนไป 2) ถ้าไม่มี ต้องทำแผนก่อนครับ หรืออย่างแรกที่สุดคือ ตั้งทีมก่อน —> CMT (Crisis Management Team)

2. RESPONDE... อย่างสถานการณ์ COVID เรานี้ อยู่ในขั้นตอนนี้เลยครับ โดยปกติขั้นตอนนี้จะมีแผนย่อยอยู่หลายแบบ 1) t=0. ช่วงเวลาเกิดเหตุ เราคงต้องเน้นไปที่การเอาตัวรอด แผนนี้มักถูกเรียกในเชิงของสายการแพทย์ —> emergency response plan คือ เอาตัวรอน่างานก่อน เช่นกรณีการเกิดไฟไหม้ คือ แผนหนีไฟ กรณีน้ำท่วม คือ แผนน้ำท่วม. 2) t= 1-2 วัน. พอทุกคนมีชีวิตรอด ปลอดภัยเเล้ว ผ่านมา1-2 วัน ไม่ควรเกิน2 วัน. ผู้บริหาร หรือ โฆษกองค์กรคงต้องออกมาสื่อสารวิกฤต (Crisis Communication) ซึ่งสำคัญมาก พูดดีจะทำให้ขนาดความเสียหายลดลงแต่ถ้าพูดไม่ถูกแนวทาง จะทำให้องค์กรพังทลายได้ครับ. 3) t>2. ผ่านมาสักพักคงต้องทำให้ธุรกิจสามารถรันต่อไปได้แล้ว เหมือนที่เคยโพสไปในบล้อกก่อนหน้า เกี่ยวกับแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน —> Business continuity management

3) Recovery การฟื้นฟู ต้องประกอบไปด้วยทางกายภาพและสภาพจิตใจครับ เช่นการเกิด COVID คนเครียด จิตใจย่ำแย่ ธุรกิจพัง เราต้องประเมินสภาพการณ์ทั้งกายภาพและจิตใจด้วยครับ

คิดว่าทุกท่านน่าจะมองเห็นภาพกว้างๆ ในการจัดการวิกฤตนะครับ ไว้พบกันใหม่ครับ


Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

Address

Condo The Trust Residence Ratchada Rama III
20/896 F17 Nonsee Road, Chong Nonsi, Yannawa, Bangkok 10120

   Add Line

Contact us

   Tel : 087-711-9446
   Line ID : patipanlim7
   Facebook : Risk and Opportunity

   
Email : patipanlim7@gmail.com

Our Courses

   Enterprise Risk Management
   Climate Change Risk
   Business Continuity Management System

Copyright © 2018 Patipanerm.com All Rights Reserved Powered by WebsMy