ต้องยอมรับว่ากระแส Generative AI มาแรงจนกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการทำงานเหมือนเป็นอวัยวะที่ 33 ของมนุษย์ จริงแล้วคนอื่นเค้าเริ่มสนใจ AI กันมาเป็นปี ๆ แล้ว แต่ผมเพิ่งมาลองเล่น ๆ มาในช่วง 2-3 เดือนหลังมานี้ (ChatGPT, Claude.AI, Copilot)
ที่เริ่มต้นศึกษาไม่นานเพราะอย่างว่าครับ ผมทำงานด้าน Risk มาตลอด ก็จะมองความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลที่ได้จาก Generative AI แต่คนที่อยู่สาย AI อาจมองว่าอยู่ที่วิธีการ prompt มากกว่า หาก prompt ดี ก็จะได้ข้อมูลที่ดี แต่ในช่วงปีที่ผ่านมาผู้เชี่ยชาญด้าน AI เริ่มมีบทบาทและขับเคลื่อนแรงมากในฝังของ พวก Responsible AI, AI Governance ในแวดวง Risk เอง ก็มีการขับเคลื่อนแรงพอสมควร ผมเคยเขียนไว้ในโพสนี้ https://patipanerm.com/article/594/riskandai
วันนี้ผมมีอะไรสนุก ๆ มานำเสนอ เนื่องจากช่วงนี้ผมสนใจและศึกษาพวก ESG, Climate Risk เลยเอา AI มาวิเคราะห์ข้อมูลด้าน ESG โดยรอบนี้ผมเลือกใช้ Claude.AI ผมพึงพอใจในผลงานของ AI ประมาณ 7-8 คะแนนจาก 10 คะแนน โดยบทสรุปที่ผมได้คือ
1. Generative AI เป็นเพื่อนร่วมทางที่ดีเยี่ยมเมื่อเรามีการ Prompt ที่ Precise ชัดเจน ในคลิปพอผมเริ่มกำหนดกลุ่มธุรกิจ Generative AI ก็ให้ข้อมูลที่ชัดขึ้น และยิ่งบอก direction ของธุรกิจนี้ชัดขึ้น มันก็ให้ข้อมูล ESG issues ให้เราชัดขึ้น
2. ลองให้ทำการวิเคราะห์สิ่งสำคัญของการทำ ESG คือ Materiality Assessment ผลที่ได้จากการ Visualize Materiality Metric ถือว่าได้ผลลัพธ์แบบกว้าง ๆ พอเอาไปเป็นข้อมูลพูดคุยได้ แต่ถ้าจะเอาเป็นคำตอบสุดท้ายอาจจะไม่เหมาะสม
ดังนั้นบทสรุปก็คือยังไงกระบวนการด้าน ESG ก็คงต้องพึ่งพาคน หรือข้อมูลจาก AI อาจจะเป็น Draft ได้ แต่มนุษย์ต้องเป็นคนปรับแต่งเอง ซึ่งผมชอบคำนี้มากเลยครับ “AI Draft Human Craft”
ผมทำ clip การ Prompt ESG AI ด้วย , Claude.AI ติดตามได้เลยด้านล่างครับ
การใช้ AI ในงาน ESG

31 ส.ค. 2567